กล่องข้อความ: 		7-50100-001-152  		  ชื่อพื้นเมือง	:  พริกขี้หนู,พริกแด้  ชื่อวิทยาศาสตร์	:  Capsicum frutescens L.  ชื่อวงศ์	:  SOLANACEAE  ชื่อสามัญ	:  Bird Chili, Chili  ประโยชน์	:  ใบสดใช้แต่งสีอาหาร ผลใช้แต่งรสอาหาร มีวิตามินเอและวิตามินเอมาก เป็นส่วนผสมยาทาถูนวด เพื่อลดการอักเสบ เป็นยาเจริญอาหารขับเหงื่อ แก้ลมจุกเสียด แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ เจริญอาหาร
บริเวณที่พบ : แปลงเกษตร
ลักษณะพิเศษของพืช : พืชผักสวนครัว, ขับเสมหะ ลดไข้
ชื่ออื่น / ชื่อท้องถิ่น พริกขี้หนู - พริกนก พริกแต้ พริกแด้ (เหนือ) พริกขี้นก ดีปลีขี้นก (ใต้) ดีปลี (ปัตตานี) ปะแกว (นครราชสีมา)
หมักเพ็ด พริกแกว (อีสาน) พริกชี้ฟ้า - พริกเดือยไก่ (เหนือ) พริกมัน (กรุงเทพ) พริกยักษ์ - พริกหวาน พริกฝรั่ง
ลักษณะทั่วไป :
ไม้พุ่ม
ต้น : ลำต้นพริกตั้งตรง สูงประมาณ 1-2.5 ฟุต พริกเป็นพืชที่มีการเจริญของกิ่งเป็นแบบ dichotomous คือกิ่งจะเจริญจากลำต้นเพียง 1 กิ่ง
แล้วแตกออก เป็น 2 กิ่ง และเพิ่มเป็น 4 กิ่ง 8 กิ่ง 16 กิ่ง ไปเรื่อยๆและมักพบว่าต้นพริกที่สมบูรณ์จะมีกิ่งแตกขึ้นมาจากต้น
ที่ระดับดินหลายกิ่ง จนดูคล้ายกับว่ามีหลายต้นอยู่รวมที่เดียวกัน ดังนั้นจึงมักไม่พบลำต้นหลักแต่จะพบเพียงกิ่งหลักๆเท่านั้น
ทั้งลำต้นและกิ่งนั้นในระยะแรกจะเป็นไม้เนื้ออ่อนแต่เมื่อมีอายุมากขึ้นกิ่งก็จะยิ่งแข็งมาก แต่กิ่งหรือต้นพริกก็ยัง คงเปราะและหักง่าย
ใบ :
พริกเป็นใบเลี้ยงคู่ ใบเป็นใบเดี่ยว มีลักษณะแบนราบเป็นมัน มีขนบ้างเล็กน้อย ใบมีรูปร่างตั้งแต่รูปไข่ไปจนกระทั่งเรียวยาว มีขนาดแตกต่างกันออกไป ใบพริกหวาน มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ใบพริกขี้หนูทั่วไปมีขนาดเล็ก แต่ในระยะเป็นต้นกล้าและใบล่างๆ ของต้นโตเต็มที่จะมีขนาดค่อนข้างใหญ่
ดอก : ลักษณะของดอกพริกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ คือมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ภายในดอกเดียวกัน โดยปกติมักพบเป็นดอกเดี่ยว แต่อาจจะพบหลายดอกเกิดตรงจุด เดียวกันได้ ดอกเกิดที่ข้อตรงมุมที่เกิดใบหรือกิ่งก้านดอกอาจตรงหรือโค้ง ส่วนประกอบของดอกประกอบด้วยกลีบรองดอก 5 พู กลีบดอกสีขาว 5 กลีบ แต่บางพันธุ์อาจมี สีม่วงและอาจมีกลีบตั้งแต่ 4-7 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 5 อัน ซึ่งแตกจากตรงโคนของชั้นกลีบดอก อับเกสรตัวผู้มีสีน้ำเงินแยกตัวเป็นกระเปาะเล็กๆ ยาวๆ เกสรตัวเมียชูสูงขึ้นไป เหนือเกสรตัวผู้ ปลายเกสรตัวเมียมีรูปร่างเหมือนเหมือนกระบองหัวมน รังไข่มี 3 พู แต่อาจพบได้ตั้งแต่ อาจพบได้ตั้งแต่ 2-4 พู
ผล :
มีทั้งผลเดี่ยวและผลกลุ่ม ผลพริกเป็นประเภท berry ที่มีลักษณะเป็นกระเปาะมีฐานขั้วผลสั้นและหนา โดยปกติผลอ่อนมักชี้ขึ้น เมื่อผลแก่พันธุ์ที่มีลักษณะขั้วผลอ่อน ให้ผลห้อยลง แต่บางพันธุ์ทั้งผลอ่อนและผลแก่จะชี้ขึ้น ผลมีลักษณะทั้งแบนๆ กลมยาว จนถึงพองอ้วนสั้น ขนาดของผล มีตั้งแต่ขนาดผลเล็กๆ ไปจนกระทั่งมีผลขนาดใหญ่ ผนังผลมีตั้งแต่บางจนถึงหนาขึ้นอยู่กับพันธุ์ ผลอ่อนมีทั้งสีเหลืองอ่อน สีเขียวอ่อน สีเขียวเข็ม และสีม่วง เมื่อผลสุก อาจเปลี่ยนเป็นสีแดง ส้มเหลือง น้ำตาล ขาวนวลหรือ สีม่วง เมื่อผลสุก อาจเปลี่ยนเป็นสีแดง ส้ม เหลือง น้ำตาล ขาวนวล หรือสีม่วงพร้อมๆกัน กับการแก่ของเมล็ดในผลควบคู่กันไป บางพันธุ์เผ็ดจัด บางพันธุ์ไม่เผ็ดเลยหรือ เผ็ดน้อย
เมล็ด  : เมล็ดพริกขี้หนูมีขนาดค่อนข้างใหญ่กว่าเมล็ดมะเขือเทศแต่มีรูปร่างคล้ายๆกันคือ มีรูปร่างกลมแบน  มีสีเหลืองไปจนถึงสีน้ำตาล ผิวเรียบ ผิวไม่ต่อยมีขนเหมือน เมล็ดมะเขือเทศ มีร่องลึกอยู่ทางด้านหนึ่งของเมล็ด เมล็ดจะติดอยู่กับรกโดยเฉพาะทางด้านฐาน
ของผลพริกเมล็ดจะติดอยู่มากกว่าปลายผล ส่วนมากที่เปลือกของผล และเปลือกของเมล็ดมักมีเชื้อโรคพวกโรคใบจุด และโรคใบเหี่ยวติดมา
สรรพคุณ : พริกช่วยกระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหารทำให้ระบบการย่อยอาหารดีขึ้น ช่วยเจริญอาหาร บำรุงธาตุ ขับเหงื่อ
ขับลม ขับเสมหะ แก้อาเจียน แก้หิด กลาก เกลื้อน พริกสามารถลดความดันโลหิตได้เพราะทำให้หลอดเลือดอ่อนตัว และช่วยให้ระบบการไหลเวียนของเลือดเป็นไปได้ด้วยดีการรับประทานพริกเป็นประจำช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง
และป้องกันการเป็นโรคหัวใจและโรคหลอดลมอักเสบได้พริกยังใช้เป็นส่วนผสมในขี้ผึ้งทาถูนวดเพื่อแก้อาหารปวดเมื่อยบวม
และลดอาการอักเสบเพราะบริเวณผิวที่ทายาจะมีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้นสามารถแก้อาการเป็นตะคริวได้
เพราะพริกจะช่วยกระตุ้นบริเวณที่เป็นทำให้รู้สึกร้อนขึ้น นอกจากนี้พริกยังใช้เป็นส่วนผสมในยาธาต ยาแก้ปวดท้อง
เพราะสารสกัด Capsaicin จากพริกจะช่วยกระตุ้นการหลั่งเอนไซม์บางชนิดซึ่งทำให้กระเพาะอาหารบีบตัวและคลายตัว
ลักษณะวิสัย

กลับหน้าหลัก
ลำต้น
ใบ
ผลแก่
ผลอ่อน

 

สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพรรณไม้    พริกขี้หนู ,พริกแต้     รหัสพรรณไม้   7-50100-001-152